วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สรุปงานวิจัยภาวะผู้นำ 3 บท

1. ชื่อเรื่อง ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบงานข้อมูลสารสนเทศ
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2

2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การบริหารงานของหน่วยงานหรือองค์การต่าง ๆ ไม่ว่าระดับใด ผู้บริหารมีจำเป็นจะต้องวางแผนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงาน นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ในการควบคุมงาน และตัดสินใจสั่งการ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายของหน่วยงานหรือองค์การในการ-บริหารงานนั้น นอกจากจะใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยพื้นฐานในการบริหารอันแก่ คน (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการที่ดี (Management) ในปัจจุบันปัจจัยการบริหารต้องเพิ่มอีก 2 ประการ คือ ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Technology) เพราะข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะข้อมูล สารสนเทศจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพการทำงานและผลของการปฏิบัติงานว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการปฏิบัติงานครั้งต่อไป ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และภารกิจของหน่วยงาน หรือองค์การที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (นิภาภรณ์ คำเจริญ, 2545, หน้า 11)
องค์การหรือหน่วยงานใดที่มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน สามารถเรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชาการหลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลทางวิทยาศาสตร์หลักตรรกะและความสมเหตุสมผล เพราะข้อมูลสารสนเทศทั้งหลายนอกจากจะใช้ในการวางแผนดำเนินงานประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิดและสร้างทางเลือกใหม่ในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศในสถานศึกษา จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทุกคนภายในองค์การ มีข้อมูลประกอบการพัฒนางานสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารทั้งในระดับสูงและหัวหน้ากลุ่มงาน ล้วนมีความจะเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศประกอบการตัดสินใจกำหนด นโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (กรมวิชาการ, 2544, หน้า 8)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ 1) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น 2) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณ เงินอุดหนุนทั่วไป
ของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ และกำกับ ตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว 3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 4) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา 5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 7) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 8) ประสานส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษา
ของสถานศึกษาของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคล องค์การชุมชน องค์การวิชาชีพ สถาบันศาสนา สาถนประการ และสถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา 9) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 10) ประสาน ส่งเสริมการดำเนินงานคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา 11) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์การ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา และ 12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใด โดยเพาะหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่มอบหมายอำนาจหน้าที่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ได้แบ่งส่วนราชการออกเป็น 6 กลุ่ม
1 หน่วยงาน ดังนี้ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหน่วยตรวจสอบภายใน จากโครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 กลุ่มนโยบายและแผน เป็นหน่วยงานส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานในเชิงนโยบาย
ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาเป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับ
การงานวางนโยบายและแผน และการจัดทำงบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดูแล
งานวิเคราะห์การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การส่งเสริมให้สถานศึกษาทำแผนกลยุทธ์ การจัดทำงบประมาณและแผนดำเนินการประจำปี และพัฒนายุทธศาสตร์ในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ว่า กลุ่มนโยบายและแผน เป็น-กลุ่มที่ปฏิบัติงานประสานกับสถานศึกษา การจัดทำข้อมูลตามโปรแกรมข้อมูลพื้นฐานของส่วนกลาง เช่น โปรแกรมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (SMIS) โปรแกรมข้อมูลโรงเรียน (Obec) โปรแกรมข้อมูลบุคลากร (P-obec) โปรแกรมข้อมูลครุภัณฑ์ (M-obec) โปรแกรมที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (B-obec) โปรแกรมข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Gis) โปรแกรมข้อมูลการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา โปรแกรมการับ-ส่งหนังสือทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน การวางแผนและจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามเวลาและเงื่อนไข โดยมีการสอบทานความถูกต้องของข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการวางแผนในการจัดทำแผนยุทดศาสตร์ แผนปฏิบัติการ การจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาต่อไป
แต่เนื่องจากกลุ่มนโยบายและแผน ไม่มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีความสมบูรณ์ ไม่มี
การจัดเก็บที่เป็นระบบ ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกลุ่มงาน ระบบการปฏิบัติในปัจจุบันที่ใช้ระบบมือในการจัดเก็บในแฟ้มเอกสารหรือในทะเบียนที่ผู้รับผิดชอบจัดทำขึ้น เพื่อสะดวกต่อการใช้งานของแต่ละคน ทำให้มีข้อมูลอยู่อย่างกระจัดกระจาย เกิดความยุ่งยากในการสืบค้น การติดตาม หรือไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ด้านบุคลากร ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ
ในหลักการ แนวคิด เทคนิควิธีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงพอในการปฏิบัติงานด้านการบริการมีความล่าช้า ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบันด้านการดูแลรักษา ไม่มีผู้มีความรู้ในการปรับปรุงพัฒนาระบบ เห็นควรได้รับการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้ระบบ (มะลิดา หงส์ทอง. 2548 : 2)
ด้วยสภาพปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้ศึกษาค้นคว้าในฐานเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 เห็นว่าหากข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มงานได้รับการพัฒนาให้ความสมบูรณ์ ถูกต้องเป็นปัจจุบันและสืบค้นได้ง่าย จะส่งผลให้พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ โกวัฒน์ เทศบุตร (2549 : 9) ที่ได้สรุปไว้ว่า ข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ ความเที่ยงตรง (Accuracy) ทันต่อการใช้งาน (Timeliness) และตรงต่อความต้องการ (Relevancy) ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในการที่จะศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบสารสนเทศของกลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการให้กลุ่มงานนโยบายและแผนมีประสิทธิภาพต่อไป
3. วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบงานข้อมูลสารสนเทศ
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบงานข้อมูลสารสนเทศ
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง
4. ขอบเขตการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาค้นคว้าดังนี้
1. เนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่
1.1 ด้านข้อมูลและสารสนเทศ
1.2 ด้านนโยบายและแผน
1.3 ด้านการวิเคราะห์งบประมาณ
1.4 ด้านการติดตามประเมินผลและรายงาน
2. ประชากร
ประชากร ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์
เขต 2 จำนวน 246 โรงเรียน
2.2 กลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างผู้ศึกษาได้กำหนดตามตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ปรากฏว่า ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 โรงเรียน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple sampling) เพื่อให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนด โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ
2 คน คือ ผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงานงบประมาณ
3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกเป็น ผู้บริหารและครู
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูที่มีต่อระบบข้อมูลสารสนเทศ
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่
3.2.1 ด้านข้อมูลและสารสนเทศ
3.2.2 ด้านนโยบายและแผน
3.2.3 ด้านการวิเคราะห์งบประมาณ
3.2.4 ด้านการติดตามประเมินผลและรายงาน

5. ประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า

ข้อค้นพบจากการศึกษาค้นคว้าสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา การพัฒนา และเป็นข้อมูลสารสนเทศในการจัดระบบงานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 พร้อมกับใช้เป็นแนวทางในการเสนอแนะเชิงนโยบาย

6. นิยามศัพท์เฉพาะ

ความคิดเห็น หมายถึง ความรู้สึก หรือเจตคติที่มีการดำเนินงานการจัดระบบงานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ระบบสารสนเทศ หมายถึง การจัดทำข้อมูลให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ซึ่งประกอบด้วย
1. ด้านข้อมูลและสารสนเทศ หมายถึง กลุ่มงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดทำข้อมูลตามความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เช่น จัดทำข้อมูลบุคลากร ข้อมูลนักเรียน และข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา ซึ่งทำให้มีข้อมูลสารสนเทศเพียงพอใจการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
2. ด้านนโยบายและแผน หมายถึง กลุ่มงานที่ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดำเนินการในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการประจำปี
3. ด้านการวิเคราะห์งบประมาณ หมายถึง กลุ่มงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการวิเคราะห์นโยบายหน่วยเหนือที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะเกณฑ์การจัดสรรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อบุคลากร งบอุดหนุน งบลงทุน งบดำเนินการและรายจ่ายอื่นแล้วนำมาวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณ การควบคุมงบประมาณ
4. ด้านการติดตามประเมินผลและรายงาน หมายถึง กลุ่มงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในการประเมินแผนยุทธศาสตร์ โครงการ/กิจกรรมของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2

7. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบงานข้อมูลสารสนเทศ
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. การบริหารงานกลุ่มนโยบายและแผน
2. แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4. กรอบแนวคิดการศึกษาค้นคว้า
5. สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า

8. วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระบบข้อมูลสารสนเทศ
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

9. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้ศึกษาสร้างและหาคุณภาพดังนี้
1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร แนวคิด หลักการ ทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนโยบายและแผน
2. ศึกษาเอกสาร และตำราเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถาม
3. กำหนดกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มงานนโยบายและแผนจากนิยามศัพท์เฉพาะ
4. ร่างข้อคำถามของแบบสอบถามให้สอดคล้องกับนิยามศัพท์เฉพาะ ตามโครงสร้างของกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้ โดยสร้างแบบสอบถามเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) โดยสอบถามเกี่ยวกับตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้บริหาร และครูผู้สอน
ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของ
กลุ่มงานนโยบายและแผน เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ของลิเคิร์ท (Likert) มี 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน....ข้อ ประกอบด้วย

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เพื่อขอความร่วมมือและความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
2. นำหนังสือจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ถึงผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อขออนุญาตให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม
3. ผู้ศึกษานำแบบสอบถามไปแจกให้กับผู้บริหารและครูด้วยตนเองพร้อมชี้แจงแนวทางการตอบแบบสอบถามและกำหนดวันที่จะมารับแบบสอบถามกลับคืน

10. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

เมื่อผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้วได้ดำเนินการการจัดกระทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่า แบบสอบถามได้รับกลับคืนจำนวน...ฉบับ คิดเป็นร้อยละ...
2. นำแบบสอบถามที่มีความถูกต้องสมบูรณ์มาลงรหัส (Code) เพื่อนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
2.1 การวิเคราะห์สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามตำแหน่ง โดยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ
2.2 การวิเคราะห์สภาพการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมกับการแปลผลการวิเคราะห์ โดยนำเสนอเป็นรายด้านและภาพรวม ซึ่งมีเกณฑ์การแปลผล ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2543 : 100)
2.3 การวิเคราะห์การเปรียบเทียบสภาพการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มงานนโยบายและแผน จำแนกตามตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติที (t-test independent)

11. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้
1. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ ประกอบด้วย
1.1 ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามศัพท์เฉพาะ (IOC) (สมนึก ภัททยธนี. 2551 : 220)
1.2 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s  - coefficient) มีสูตรดังนี้ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2551 : 248)
2. สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย
2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) สูตรที่ใช้คำนวณ มีดังนี้ (วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2546. : 95)
2.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) สูตรที่ใช้คำนวณ มีดังนี้ (ล้วน สายยศ. 2551 : 242)
2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สูตรที่ใช้คำนวณ มีดังนี้ (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538 : 79)
3. การทดสอบค่าที (t-test : independent) สูตรที่ใช้คำนวณ มีดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2546 :
150)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น